หน้าหลัก > ข่าว > ประชาสัมพันธ์ > MARKETING 4.0 : การคัดสรรทิศทางการตลาดแห่งยุค
MARKETING 4.0 : การคัดสรรทิศทางการตลาดแห่งยุค

admin market
2019-05-28 09:38:28

MARKETING 4.0 : การคัดสรรทิศทางการตลาดแห่งยุค
MARKETING 4.0 
เห็นจั่วหัวมาด้วยเลข 4.0 แบบนี้ เชื่อว่าต้องมีใครหลายคนนึกไปถึงคำว่า ไทยแลนด์ 4.0 กันบ้างแน่ๆ ซึ่งก็ต้องบอกว่าช่วงหลังมานี้เราได้ยินทั้งคำ 2 คำนี้กันบ่อยขึ้น ฟังแล้วก็ดูคล้ายๆ กัน น่าจะมีความเกี่ยวข้องกันหรือเปล่า? มาเริ่มทำความเข้าใจกันทีละประเด็น

ไทยแลนด์ 4.0 (Thailand 4.0) คือ โมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย โดยรัฐบาลไทย ซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาระบบเศรษฐกิจให้ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ทั้งภาคอุตสาหกรรมที่จะหันมาใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้มากขึ้น รวมถึงการผลิตสินค้าที่เป็นเชิงนวัตกรรมเองด้วย

 

ส่วน การตลาด 4.0 (Marketing 4.0) นั้น เป็นคำที่โด่งดังมาจากหนังสือ Marketing 4.0 ของ Philip Kotler ซึ่งกล่าวถึงการทำการตลาดในลักษณะที่ใช้เทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วย เพื่อเพิ่มช่องทางในการขาย, เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแบรนด์, เพิ่มยอดขาย และเพื่อประโยชน์ต่างๆ ได้อีกเยอะแยะมากมาย ซึ่งในส่วนนี้จะเห็นว่าแนวคิดของทั้ง 2 คำนี้ดูจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีจุดร่วมคือ การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้มากขึ้น สำหรับการประยุกต์ใช้การตลาด 4.0 แบบง่ายๆ ที่ทุกคนสามารถทำได้ (และควรทำด้วย) ก็คือการใช้ช่องทางออนไลน์ในการทำ 3 สิ่งดังต่อไปนี้

 

 

          นอกเหนือจากเรื่องของการใช้เทคโนโลยีแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันเลยก็คือ “กลยุทธ์” เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ไม่หยุดนิ่ง การตลาดเองก็เช่นกัน ถ้าไม่มีการพัฒนาปรับเปลี่ยนกลยุทธ์กันบ้างเลยมันจะเป็นการตลาด 4.0 ไปได้อย่างไร เราจึงขอทิ้งท้ายเอาไว้ด้วย “กลยุทธ์ 5A” จากหนังสือ Marketing 4.0

 
  • Aware การทำให้ลูกค้ารู้จักกับสินค้า หรือแบรนด์ของเรา
  • Appeal คือการดึงดูดความสนใจจากลูกค้า ทำอย่างไรให้เราเข้าไปเป็นตัวเลือกในอันดับต้นๆ จากคู่แข่งจำนวนมากมาย
  • Ask เมื่อลูกค้าให้ความสนใจแล้ว ต่อมาก็คือการซักถามถึงข้อมูล รายละเอียดต่างๆ ของสินค้า หรือการค้นหาข้อมูล รีวิวจากการใช้งานจริง
  • Act หลังจากการรับรู้ สนใจ ซักถาม แล้วล่ะก็ ในกรณีที่คุณทำให้ลูกค้าพึงพอใจในตัวสินค้าได้การตัดสินใจซื้อก็จะเกิดตามมา
  • Advocate คือการบอกต่อ อันเกิดจากการที่ลูกค้าใช้งานสินค้าแล้วเกิดความประทับใจหรือไม่ประทับใจก็ได้ ลูกค้าสามารถบอกต่อได้ทั้งหมด แต่จะเป็นแง่ดีหรือร้ายก็แล้วแต่ประสบการณ์ที่ลูกค้าได้รับมา พลังแห่งการบอกต่อนี้สำคัญมากและส่งผลกระทบต่อแบรนด์ได้มากอย่างที่คุณอาจคาดไม่ถึงเลย และเป็นข้อที่ทำให้นักการตลาดควรตระหนักเป็นอย่างยิ่งว่าไม่ใช่แค่เทคโนโลยีเท่านั้นที่มีความสำคัญต่อการตลาด 0 แต่ยังมีเรื่องของ “ผู้คน” ด้วย
 

          เพราะพฤติกรรมการจับจ่ายของผู้คนในทุกวันนี้เปลี่ยนไปแล้ว ก็คงถึงเวลาที่คุณต้องถามตัวเองแล้วว่าแบรนด์ของเราล่ะ มีสิ่งที่เรียกว่า การตลาด 4.0 รองรับกันเอาไว้แล้วหรือยัง เพราะแค่การตลาดอย่างเดียวคงไม่สามารถลงสนามเข้าแข่งขันได้อีกต่อไปแล้ว     


ที่มา : https://www.iplandigital.co.th/marketing-4-0/