หน้าหลัก > ข่าว > ประชาสัมพันธ์ > 10 เทรนด์การตลาด-พฤติกรรมผู้บริโภค 2018 – 2019 เมื่อ“Disruptive World” รุนแรงขึ้น!!
10 เทรนด์การตลาด-พฤติกรรมผู้บริโภค 2018 – 2019 เมื่อ“Disruptive World” รุนแรงขึ้น!!

admin market
2019-06-27 10:22:41

ตอนที่ 1
สรุป 10 เทรนด์การตลาด-พฤติกรรมผู้บริโภค 2018 – 2019 เมื่อ“Disruptive World” รุนแรงขึ้น!!

ประเด็นที่ถูกพูดถึงกันมากในรอบปี 2018 คือ “Technology Disruption” ที่พลิกโฉมหลายอุตสาหกรรมยุคเดิม ขณะเดียวกันเกิด Business Model ใหม่ที่สามารถเขย่ายักษ์ใหญ่ที่เกิดและเติบโตในยุค Analog ต้องสั่นสะเทือน !! และเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังเจอกับความผันผวนของแนวโน้มทางเศรษฐกิจ ทั้งในระดับประเทศ และระดับโลก ส่งผลให้ทุกวันนี้เราอยู่ในยุค “Disruptive World” ทำให้ภาคธุรกิจต้องปฏิวัติตัวเองครั้งใหญ่ บางองค์กรถึงกับต้อง Reorganize องค์กรครั้งใหญ่ หรือแม้แต่ปรับเปลี่ยนแผนยุทธศาสตร์ธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจยังสามารถไปต่อได้ และคาดการณ์ว่าประเด็นต่างๆ เหล่านี้ ยังคงปรากฏให้เห็นชัดเจนขึ้นในปี 2019        
Marketing Oops! ได้สรุปเทรนด์การตลาด และพฤติกรรมผู้บริโภคในช่วงปี 2018 และยังคงแรงต่อเนื่องถึงปี 2019 ดังนี้

1. “Unstereotype” (Imperfectionist) ทลายกรอบแนวคิดสมบูรณ์แบบ! ที่ผ่านมาผู้บริโภคไทยมีลักษณะ Stereotype Perfectionist มาโดยตลอด นั่นคือ เป็นความเพอร์เฟคที่สังคมกำหนดว่าสิ่งไหนดี-ไม่ดี สิ่งไหนสวย-ไม่สวย ทำให้คนอยากหาผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ตัวเอง “เพอร์เฟค” เพื่ออยู่ในสังคมได้ เช่น ผิวขาว – สูง ผอมเพรียว – ผมยาว เป็น Stereotype ที่สังคมกำหนด
          แต่เทรนด์กำลังเคลื่อนไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ไร้กรอบ จาก “Stereotype” สู่ “Unstereotype”
ซึ่งในงานวิจัยของ “Kantar Insights” เรียกว่า “Imperfectionist” คือ ไม่จำเป็นต้องเพอร์เฟค แต่มีความเป็นตัวของตัวเอง – มีเอกลักษณ์ เช่น ในอดีต Insight คนไทยอยากมีผิวขาวมาเป็นอันดับหนึ่ง แต่ปัจจุบันคนไทยหลายคนภูมิใจกับการมี “ผิวสุขภาพดี” ไม่ว่าจะสีผิวไหน มากกว่า “ผิวขาว” เพราะฉะนั้นเวลานี้นิยามความสวยเปลี่ยนไปหรือแม้แต่ในอดีตมีการแบ่ง Segmentation เป็น “ผู้ชาย” – “ผู้หญิง” และปัจจุบันได้จัดเซ็กเมนต์ “เพศที่สาม” และสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายของสินค้า หรือแบรนด์ แต่ต่อไปนี้จะใช้หลักการเช่นนั้นไม่ได้แล้ว เพราะผลิตภัณฑ์ผู้ชายบางตัว ผู้หญิงอาจสนใจก็ได้     
นั่นหมายความว่าในมุมของการตลาด การแบ่ง Segmentation ไม่เหมือนเดิมแล้ว แบรนด์ต้องดูว่าผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงอย่างไร เป็นไปในทิศทางไหน ไม่ยึดติดอยู่กับกรอบแนวคิดเดิมๆ
         
2. แบรนด์อยากได้ “Data” แต่ต้องไม่ลืม “Privacy Concerns”        ทุกวันนี้ “Big Data” ที่เป็นฐานข้อมูลผู้บริโภค อันเกิดการที่ผู้บริโภคมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น สมัครเป็นสมาชิก loyalty card หรือเคยให้ข้อมูลบนออนไลน์ หรือเป็นแฟนเพจแบรนด์ หรือแม้แต่เคยคลิ๊กเข้าไปดูสินค้าบน Online Shopping ของแบรนด์นั้นๆ ฐานข้อมูลผู้บริโภคดังกล่าว กลายเป็น “คลังสมบัติ” อันมีค่ามหาศาลขององค์กรธุรกิจยุคนี้ ในการนำมาวิเคราะห์ สำหรับทำความเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคลงลึกตั้งแต่ระดับ Segmentation ไปจนถึงระดับ Personalization เพื่อนำไปพัฒนาสินค้า และวางกลยุทธ์สื่อสาร แต่สิ่งที่ตามมา คือ ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับเรื่อง “Privacy” มากขึ้น จากแต่ก่อนไม่ได้ให้ความสำคัญมากนักกับ data privacy  อีกทั้งในรอบปี 2561 เจอข่าวข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน Facebook รั่วออกมาเป็นระยะๆ ทำให้ผู้บริโภคกังวลต่อการให้ข้อมูลส่วนตัวในเวลาที่ตนเองใช้ออนไลน์ ส่งผลให้ปัจจุบัน ผู้บริโภคตื่นตัวในเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลตนเอง เพราะฉะนั้นแบรนด์ควรให้ความสำคัญกับการปกป้อง “Privacy” ของผู้บริโภค          
3. “Realize Connection & Connected Loneliness” คนโหยหาความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้ง ไม่ใช่แค่บน Social Media ปัจจุบันผู้บริโภคมองว่าตัวเขาเอง ใช้ “Social Media” มากเกินไป โดยเฉลี่ยคนไทยใช้ออนไลน์ ผ่านสมาร์ทโฟน 91% และใช้เวลาอยู่ในโลกออนไลน์โดยเฉลี่ย 4.2 ชั่วโมงต่อวันต่อคน โดยเป็นการใช้ “ทุกวัน” ขณะที่อัตราการใช้ Social Media ในกลุ่มคนไทย สูงติดอันดับต้นๆ ของประเทศ Emerging Market ในภูมิภาคเอเชีย  อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคที่ใช้ “Social Media” มากไป คนกลุ่มนี้รู้สึกว่าไม่ได้ส่งผลดีต่อชีวิตของเขาเอง โดยผลวิจัยของ “Kantar Insights” ระบุว่า คนไทยบางคนเสพติดการใช้ Facebook มาก แต่ก็ยังรู้สึกเหงา เดียวดาย และเครียด ก่อให้เกิดแนวโน้มที่เรียกว่า “Connected Loneliness” นั่นคือ คนในเมือง อยู่คนเดียว โหยหาความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้ง เพราะเขามองว่าความสัมพันธ์ใน Social Media เป็นความสัมพันธ์ที่ฉาบฉวย-ตื้นเขิน ดังนั้นเทรนด์ใหม่ที่เกิดขึ้น คือ จากเปลี่ยนจาก “Connected Consumer” ขยับไปสู่ “Realize Connection” ที่คนให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่าง “คน” กับ “คน” และให้ความสำคัญกับ “ประสบการณ์ ณ ปัจจุบัน” มากขึ้น เพราะฉะนั้นแบรนด์ที่จะโดนใจผู้บริโภค คือ แบรนด์ที่มี Purpose ซึ่งเป็นแบรนด์ที่มีความลึกซึ้ง มีความจริงใจ สร้างความหมาย หรือสร้างประโยชน์ให้กับผู้บริโภค       
4. “Circular Economy” แนวคิดระบบเศรษฐกิจ-ธุรกิจ-สังคมโลกยั่งยืน ไม่ได้เป็นเพียงแค่เทรนด์ที่เกิดขึ้นแล้วหายไป สำหรับแนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน” (Circular Economy) มีมาสักพักแล้ว แต่ที่หยิบยกขึ้นมาเป็นอีกเทรนด์มาแรงปี 2019 นั้น เป็นเพราะทุกวันนี้ได้กลายเป็น Mega Trend และมีแนวโน้มขยายไปทั่วโลก ยิ่งปัจจุบันเกิดกระแสตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อม และการใช้ทรัพยากรโลก ทำให้แนวคิด “Circular Economy” กลายเป็นวาระสำคัญระดับโลก และองค์กรธุรกิจกำลังมุ่งมายังทิศทางนี้มากขึ้น Circular Economy เป็นการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด และของเสียที่เกิดจากการผลิตและการบริโภค กลับเข้าสู่กระบวนการที่สามารถนำกลับมาสร้างคุณค่าอีก เช่น Reuse, Refurbishing, Recycling และ Upcycling เพื่อใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

5. “Life Improvement Content” ผู้บริโภคต้องการเสพคอนเทนต์พัฒนาทักษะ-ความรู้       
ในงาน “Nextm Next Thing Now” ที่จัดขึ้นโดย GroupM มีเทรนด์หนึ่งที่น่าสนใจคือ ปัจจุบันคนหันมาเสพข้อมูลประเภท “Life Improvement Content” ที่ช่วยพัฒนาทักษะ ความรู้-ความสามารถให้กับตัวเอง เป็นผลสืบเนื่องมาจากโลกยุคดิจิทัล สร้างโอกาสเปิดกว้างให้คนยุคนี้ประสบความสำเร็จในอาชีพการงาน และการเงินรวดเร็วขึ้น และการเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัดเจนในทุกวันนี้ พบว่าผู้บริโภคกลุ่ม Millennials มีแรงขับเคลื่อนจากการที่ตัวเขาเอง เห็นตัวอย่างคนรอบข้างประสบความสำเร็จ ทั้งอาชีพการงาน และการเงิน จึงกลายเป็นแรงผลักดัน หรือแรงบันดาลใจให้อยากที่จะประสบความสำเร็จบ้างเช่นกัน ส่งผลให้ปัจจุบัน คนหันมาเปิดรับข้อมูลแนว “Life Improvement Content” ทั้งทางอินเทอร์เน็ต และสื่อประเภทออฟไลน์

          จึงเป็นโอกาสของแบรนด์ที่จะ Empower ผู้บริโภค ในการสร้างความมั่นใจ ให้แรงบันดาลใจ หรือแม้แต่ให้พื้นที่แก่ผู้บริโภคได้แสดงออก เมื่อแบรนด์ให้พื้นที่แก่ผู้บริโภค เมื่อคนๆ นั้นทำตามฝันตัวเองได้สำเร็จ คนๆ นั้นจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนอื่นต่อไป

ที่มา https://www.marketingoops.com/news/biz-news/marketing-and-consumer-trends-2018-2019/